เครือข่ายระบบประสาทคอมพิวเตอร์ของทั้งเฟซบุ๊กสามารถประมวลผลภาพได้อัตโนมัติ |
|
|
 |
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น |
|
|
|  |
สำหรับเฟซบุ๊ก (Facebook) และกูเกิล (Google) การที่คอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ภาพได้อาจไม่เพียงพอ แต่ต้องสามารถสร้างภาพได้ด้วย ล่าสุดทั้ง 2 บริษัทโชว์ตัวระบบนิวรัลเน็ตเวิร์กส์พร้อมกันโดยไม่ได้นัดหมาย โดยเครือข่ายระบบประสาทคอมพิวเตอร์ของทั้งคู่สามารถประมวลผลภาพได้อัตโนมัติ ตามความเข้าใจของระบบเองว่าวัตถุนี้ควรจะเป็นหรือมีรูปลักษณ์อย่างไร เบื้องต้น ระบบนิวรัลเน็ตเวิร์กส์ของเฟซบุ๊กนั้นถูกนำมาใช้สร้างภาพธัมป์เนลขนาดจิ๋ว (thumbnail) หลักการทำงานของอัลกอริธึมในระบบนี้จะเริ่มที่การสร้างเส้นแบบสุ่ม จากนั้นระบบจะตรวจสอบว่าเส้นที่ถูกสร้างนั้นมีลักษณะเหมือนวัตถุจริงหรือไม่ หากไม่ระบบจะลบเส้นนั้นออกไป หากใช่ระบบจะคงเส้นนั้นไว้ วิธีการนี้ทำให้ระบบของเฟซบุ๊กสามารถสร้างภาพที่มนุษย์สามารถมองออกว่าเป็นวัตถุใดถึง 40% คาดว่าระบบนี้จะถูกพัฒนาจนทำให้การสามารถสร้างภาพที่มีความเป็นจริงมากขึ้นอีก ด้านกูเกิลนั้นพัฒนาระบบที่ต่างออกไป แทนที่จะอิงจากความเป็นจริง กูเกิลปล่อยให้ระบบตัดสินใจเองว่าจะปล่อยหรือลบเส้นใดออกไป หากตั้งค่าภาพเริ่มต้นให้ระบบของกูเกิลเป็นภาพท้องฟ้า และระบบวิเคราะห์ว่าควรจะมีภาพนกในซีน ระบบจะต่อเสริมเติมเส้นจนกลายเป็นนกที่ชัดเจน จุดนี้หากมีการตั้งค่าให้ระบบแต้มสีเพิ่มเติมแบบสุ่ม (random noise) ภาพที่ได้จะยิ่งมีลักษณะคล้ายภาพศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ ทั้งหมดนี้ จุดประสงค์ของการพัฒนาระบบวาดภาพของกูเกิลและเฟซบุ๊กไม่ได้อยู่ที่การทดแทนศิลป์ของศิลปินหรือนักถ่ายภาพ แต่เชื่อว่าในอนาคต ระบบที่ถูกพัฒนาเต็มขั้นจะสามารถสร้างภาพที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะได้รับความเพลิดเพลินไม่น้อยทีเดียว
|
|
|
|
|
ที่มา: http://manager.co.th/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น