ก้าวทันเทคโนโลยี : ข่าว it :สร้างสรรค์ สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ด้าน IT สู่สังคมแห่งการเรียนรู้...
เมนูด้านบน
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
แฟนเพจ Facebook
Google.com
ขายสินค้า โปรโมทเว็บไซต์ฟรี
วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558
ยลโฉม “รถ 3D printing” คันแรกของโลก พลัง 700 แรงม้า
ซูเปอร์คาร์เทคโนโลยี 3D Printing ถูกตั้งชื่อว่า “เบลด (Blade)”
บริษัทเกิดใหม่ในซานฟรานซิสโก เปิดศักราชระบบการผลิตรถยนต์พันธุ์ใหม่ ด้วยการโชว์ตัวซูเปอร์คาร์ที่ถูกสร้างจากเทคโนโลยีงานพิมพ์ 3 มิติ หรือ 3D Printing วิดีโอชี้ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ทุกชิ้นถูกพิมพ์ขึ้นแล้วประกอบกันจนกลายเป็นรถหรูต้นแบบที่สามารถวิ่งได้จริงบนพลัง 700 แรงม้า โดยสามารถเร่งเครื่องจาก 0 เป็น 60 ไมล์่ต่อชั่วโมง ในเวลา 2.2 วินาที
สตาร์ทอัปผู้เขย่าวงการรถยนต์นี้มีชื่อว่า “ไดเวอร์เจนต์ ไมโครแฟคเตอร์ส (Divergent Microfactories)” ขณะที่ซูเปอร์คาร์เทคโนโลยี 3D Printing ถูกตั้งชื่อว่า “เบลด (Blade)”
ในขณะที่ชิ้นส่วนรถยนต์ถูกพิมพ์จากคาร์บอนไฟเบอร์ด้วยเทคโนโลยีงานพิมพ์ 3 มิติ รายงานสตาร์ทอัปรายนี้ระบุว่า ชิ้นส่วนจะถูกเชื่อมต่อกันด้วยแท่งคาร์บอน และอะลูมิเนียม ทำให้รถมีความแข็งแรง และสามารถใช้งานได้จริง
เครื่องยนต์ 700 แรงม้าที่ถูกติดลงในรถต้นแบบนี้สามารถใช้งานกับทั้งก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน รวมน้ำหนักรถทั้งคันคือ 1,400 ปอนด์ ถือเป็นสัดส่วนที่น้อยกว่ารถโมเดิร์นคาร์บางรุ่นถึง 90%
ชิ้นส่วนรถยนต์ถูกพิมพ์จากคาร์บอนไฟเบอร์ด้วยเทคโนโลยีงานพิมพ์ 3 มิติ
นอกจากรถรุ่นแรกที่สามารถเร่งเครื่องยนต์จาก 0 เป็น 60mph ในเวลา 2.2 วินาที บริษัทไดเวอร์เจนต์ฯ วางแผนพัฒนารถที่มีความสามารถสูงกว่านี้เพื่อจำหน่ายแบบจำกัด หรือ limited ในอนาคต โดยจะเป็นการผลิตในโรงงาน “ไมโครแฟคเตอรี่” ของตัวเอง
เควิน ซิงเกอร์ (Kevin Czinger) ซีอีโอไดเวอร์เจนต์ฯ เชื่อมั่นว่ารถ 3 มิติของตัวเองจะได้รับการตอบรับจากสังคมในอนาคต เนื่องจากความตื่นตัวในการใช้งานรถพลังงานสะอาด ซึ่งรถของบริษัทสามารถตอบโจทย์ได้ดีโดยเฉพาะระบบการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
สำหรับโซลูชันงานพิมพ์ที่ทำให้เกิดเป็นรถ Blade นั้นถูกเรียกว่า “โหนด (Node)” เป็นเทคนิกการพิมพ์ชิ้นส่วนรถทีละชิ้นเพื่อประกอบเป็นตัวรถในเวลาหลักนาที จุดนี้คาดว่าเทคโนโลยีงานพิมพ์ 3 มิติเพื่อการผลิตยานยนต์จะถูกพัฒนาในรูปแบบอื่นอีกในอนาคต
ที่มา : http://manager.co.th/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
บทความใหม่กว่า
บทความที่เก่ากว่า
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น