วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

สื่อนอกเผยไมโครซอฟท์ซุ่มผลิตแล็ปท็อปราคาเยา 4,800-5,800 บาท

สื่อนอกเผยไมโครซอฟท์ซุ่มผลิตแล็ปท็อปราคาเยา 4,800-5,800 บาท
        สื่อต่างชาติเผย ไมโครซอฟท์ (Microsoft) ซุ่มพัฒนาแล็ปท็อปราคาย่อมเยาเพียง 149-179 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 4,800-5,800 บาทเท่านั้น คาดนำมาชนกับ Chromebook เพื่อชิงส่วนแบ่งตลาดในกลุ่มผู้ใช้งานเพื่อการศึกษา และตลาดคอนซูเมอร์
       
       จากการเปิดเผยของเว็บไซต์ด้านเทคโนโลยีอย่าง Digitimes มีการวิเคราะห์ว่า ความพยายามของไมโครซอฟท์ในครั้งนี้มีขึ้นเพราะต้องการสกัดการเติบโตของ Chromebook ในตลาดโลกนั่นเอง โดยแล็ปท็อปดังกล่าวคาดว่าจะมาพร้อมหน้าจอ 11.6 นิ้ว และใช้ โปรเซสเซอร์ Bay Trail-T CR (BTCR) จากอินเทล โดยรุ่นที่ผลิตเพื่อเจาะตลาดการศึกษานั้นจะผลิตที่ Elitegroup Computer System หรือ ECS และขายผ่านช่องทางเพื่อการศึกษาของทางอินเทล และ ECS โดยเฉพาะ ราคาของรุ่นดังกล่าวคาดว่าจะอยู่ที่ราว 179 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 5,838 บาท)
       
       ส่วนอีกรุ่นหนึ่งที่ต้องการเจาะตลาดคอนซูเมอร์นั้น จะผลิตโดย 3 Nod บริษัทสัญชาติจีน และจะขายผ่านเวนเดอร์ของทางค่าย ซึ่งคาดว่าจะมีราคาเริ่มต้นที่ 149 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 4,860 บาท)
       
       อย่างไรก็ดี ตลาดแล็ปท็อปเพื่อการศึกษานั้นเป็นตลาดที่ไมโครซอฟท์ต้องชนกับ Chromebook โดยตรง แถม Chromebook ยังมีหน้าจอหลายขนาดให้เลือก ตั้งแต่ 11.6, 13.3 และ 15.6 นิ้ว ขณะที่ไมโครซอฟท์ มีแค่รุ่นหน้าจอ 11.6 นิ้วให้เลือกเท่านั้น จึงเป็นไปได้ว่า ในอนาคตเราอาจได้เห็นไมโครซอฟท์ส่งแล็ปท็อปราคาถูกแต่มีหน้าจอใหญ่เท่ากับ Chromebook ที่ 15.6 ตามออกมาด้วยก็เป็นได้
       
       ปฏิเสธไม่ได้ว่าอนาคตของธุรกิจแล็ปท็อปเป็นสิ่งที่ยากจะคาดเดาได้ เพราะปัจจุบัน การซื้อแล็ปท็อปอาจไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสมของการใช้งานในยุคนี้ และยุคต่อไปมากนัก นั่นหมายความว่า คู่แข่งของไมโครซอฟท์จึงไม่เจาะจงเฉพาะแล็ปท็อปจากกูเกิล แต่ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งก็คือ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟนหน้าจอใหญ่ ที่กลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน จึงอาจกล่าวได้ว่า การทำตลาดแล็ปท็อปราคาย่อมเยาในยุคนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
       
       เหนือสิ่งอื่นใด ไมโครซอฟท์ยังต้องฝากความหวังไว้กับอาวุธสุดท้ายอย่างระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 10 ซึ่งหากวินโดวส์ 10 ล้มเหลว ก็เป็นไปได้่ว่า ไมโครซอฟท์อาจสูญเสียมากกว่าแค่ส่วนแบ่งการตลาดก็เป็นได้ 

ที่มา: http://manager.co.th/

พบเด็กยุคใหม่อยู่กับหน้าจอมากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน

พบเด็กยุคใหม่อยู่กับหน้าจอมากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน
        อาจเป็นเพราะรูปแบบของสื่อทีเปลี่ยนแปลงไป จากเด็กในอดีตที่มีเพียงแค่ทีวี หนังสือ และนิตยสารอยู่รอบตัว มาสู่เด็กในวันนี้ที่มีทั้งแท็บเล็ต สมาร์ทโฟน นาฬิกาอัจฉริยะ แว่นตาอัจฉริยะ เกม ยูทิวบ์ ทีวีที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ฯลฯ ส่งผลให้เด็กทุกวันนี้อยู่กับหน้าจอต่างๆ มากกว่าวันละ 6 ชั่วโมงแล้ว
       
       การทำสำรวจดังกล่าวจัดทำขึ้นโดย Childwise และพบว่า เด็กๆ อายุระหว่าง 5-16 ใช้เวลาเฉลี่ย 6 ชั่วโมงครึ่งต่อวัน อยู่กับหน้าจอต่างๆ เปรียบเทียบกับเด็กในปี ค.ศ.1995 ซึ่งอยู่กับหน้าจอประมาณ 3 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งแม้จะเป็นการสำรวจจากฝั่งตะวันตก แต่เชื่อว่าภาพดังกล่าวก็ได้เกิดขึ้นทั่วโลกอย่างเท่าเทียมกัน แถมในบางประเทศของเอเชีย สถานการณ์ดังกล่าวอาจรุนแรงกว่ามาก เช่น ในเกาหลีใต้ ที่มีการรายงานปัญหาการติดเกมของเด็กวัยรุ่นว่าอยู่ในขั้นรุนแรง และมีเด็ก 1 ใน 10 คนต้องเข้ารับการบำบัด
       
       สำหรับการสำรวจในครั้งนี้พบว่า เวลาที่เด็กใช้ไปกับการดูทีวี เล่นเกมคอนโซล ใช้งานโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ หรือแท็บเล็ตนั้น กลุ่มวัยรุ่นชายคือ กลุ่มที่ใช้เวลาอยู่กับหน้าจอเหล่านี้นานที่สุด ราว 8 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนเด็กผู้หญิงอายุ 8 ปี ใช้เวลาน้อยที่สุด ราว 3.5 ชั่วโมงต่อวัน
       
       นอกจากนั้น ยังพบว่าเด็ก ๆ ในทุกวันนี้เป็นกลุ่มที่ทำงานบนหน้าจอหลายๆ ชนิดในเวลาเดียวกัน เช่น ดูทีวีไปด้วย เล่นอินเทอร์เน็ตไปด้วย
       
       “สิ่งที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดก็คือ ในยุค 90 สื่อที่เชื่อมกับเด็กๆ มีแค่ทีวีกับนิตยสาร แต่เด็กในปัจจุบันมีอุปกรณ์มากมาย ตั้งแต่แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน เกมคอนโซล พวกเขาจึงใช้เวลากับหน้าจอต่างๆ ได้มากขึ้น” Matthew Nevard ผู้บริหารสถาบันวิจัยกล่าว
       
       พฤติกรรมการรับชมทีวีของเด็กก็เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากพบว่า พวกเขาดูรายการทีวีผ่านยูทิวบ์มากกว่าดูทีวีแบบปกติเสียแล้ว
       
       ส่วนบริการรับชมทีวีที่ต้องจ่ายเงินพิเศษเพิ่มเติมเช่น Netflix ก็พบว่า มีแนวโน้มเติบโตสูงเช่นกัน
       
       นอกจากนี้ Childwise ยังได้เก็บข้อมูลเด็ก จำนวน 2,000 คน อายุ 5 16 ปีตั้งแต่ปี ค.ศ.1995 ถึงปัจจุบันมาโดยตลอด และพบว่า เด็กวัยรุ่นผู้หญิงในปัจจุบันใช้เวลากับหน้าจอต่างๆ ไปถึง 7.5 ชั่วโมงต่อวัน ขณะที่ในปี ค.ศ.1995 วัยรุ่นหญิงในยุคนั้นดูทีวีประมาณ 3.5 ชั่วโมงเท่านั้น
       
       การศึกษาครั้งนี้ยังพบว่า อินเทอร์เน็ตคือ ตัวการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการรับข้อมูลข่าวสารของเด็กๆ
       
       “อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญต่อชีวิตเด็กมากขึ้น และทำให้พวกเขาเข้าถึงคอนเทนต์ที่มีคุณภาพได้มากขึ้น”
       
       นอกจากนั้น อินเทอร์เน็ตยังทำให้เด็กมีอิสระในการเลือกชมสื่อที่พวกเขาสนใจมากกว่าเด็กในอดีตที่มีเพียงทีวี-นิตยสาร แถมสื่อเหล่านั้นไม่สามารถเลือกได้ เนื่องจากมีตารางในการออกอากาศที่ชัดเจน และนั่นทำให้การเชื่อมต่อสู่โลกออนไลน์กลายเป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของเด็กยุคใหม่ไปโดยปริยาย พวกเขาจะนึกภาพของชีวิตที่ขาดอินเทอร์เน็ตไม่ได้อีกต่อไป
       
       ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทาง Childwise ยังได้จัดอันดับเว็บไซต์ยอดนิยมสำหรับกลุ่มเด็กเอาไว้ด้วย และยูทิวบ์ ก็ติดหนึ่งในสามมาโดยตลอดตั้งแต่ปี ค.ศ.2007 ส่วนเฟซบุ๊กนั้นระยะหลังตกลงไปแล้ว เนื่องจากเด็กๆ หันไปเล่นบริการใหม่อย่าง Snapchat มากกว่า การสำรวจยังพบว่า เด็กๆ พอใจต่อระบบ Privacy ของ WhatsApp และ Snapchat มากกว่า และการใช้แอปนั้นก็ทำให้รูปแบบการสื่อสารของเด็กๆ เปลี่ยนไปด้วย
       
       “มันสะท้อนให้เห็นภาพของวัฒธรรมใหม่ ด้วยการใช้ภาพถ่ายในการแสดงเรื่องราว อารมณ์ และกิจกรรมที่เราทำอยู่” มร.Nevard กล่าว
       
       ส่วนเว็บไซต์อย่างกูเกิลนั้นเป็นเพียง 1 ในไม่กี่เว็บไซต์ที่ยังคงติดอันดับความนิยมอย่างต่อเนื่องนานกว่า 10 ปีสำหรับเด็ก
       
       การคาดการณ์ของรายงานดังกล่าวยังระบุด้วยว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้า เราจะมีเด็กที่เติบโตและคุ้นเคยกับอินเทอร์เน็ตอย่างมากเกิดขึ้น และพวกเขาแทบจะนึกภาพไม่ออกเลยว่า โลกที่ไม่มีอินเทอร์เน็ตนั้นอยู่กันได้อย่างไร
       
       ส่วน Internet of things ก็จะกลายเป็นของธรรมดาทั่วไปที่ทุกบ้านก็มีกัน ส่วนของใช้ในบ้านที่ไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ก็จะกลายเป็นสิ่งล้าสมัย หรือหาได้ยากมากขึ้น
       
       นอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้ว่า เด็กยุคต่อไปอาจมีอุปกรณ์บางอย่างบนร่างกายที่เป็น Wearable Tech เช่น นาฬิกาอัจฉริยะ หรือแว่นตาอัจฉริยะก็เป็นได้
       
       เป็นไปได้ว่า ถึงยุคนั้น Screen Time ของเด็กอาจเพิ่มไปอีกเท่าตัว 

ที่มา: http://manager.co.th/CyberBiz

สรุปเทรนด์เคล็ดลับการตลาดไทยยุคดิจิตอล จากงาน Thailand Digital & E-Business Trends 2015

tdet-marketing-thai-trend-2015บริษัท efrastructure  บริษัทในด้านดิจิตอล ได้จัดงานสัมมนา  Thailand Digital & E-Business Trends 2015 หรือที่รู้จักกันในนาม #TDET2015 ซึ่งจบไปแล้วเมื่อ 25 มีนาคม ที่ผ่านมา ณ โรงแรม s31 สุขุมวิท ซึ่งภายในงานดังกล่าวมีเนื้อหาเกี่ยวกับเคล็ดลับการตลาดไทยที่น่าสนใจหลายเรื่องด้วยกัน
tdet-marketing-thai-trend-2015-a
คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ได้บรรยายในหัวข้อ  แนวโน้มธุรกิจและการตลาดสุดฮ็อตยุค Digital Economyเผยข้อมูลว่าเม็ดเงินโฆษณาออนไลน์ที่โตอย่างต่อเนื่องกว่า 44% ในปี 2557 เมื่อเทียบกับปี 2556 พร้อมจุดกระแสเทรนด์ Personomic หรือ เศรษฐศาสตร์ส่วนบุคคล กับการทำการตลาดในยุคปัจจุบัน ที่จะเน้นการทำธุรกิจในกลุ่มบุคคลที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น สามารถสร้างความผูกพันที่มากกว่าการขายสินค้าเท่านั้น พร้อมกับการเปิดตัวกลุ่มบริษัท เลือดใหม่แห่งวงการดิจิทัล “efrastructure” โครงสร้างพื้นฐานของธุรกิจดิจิทัล แบบครบวงจร
คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ  ได้พูดถึงหัวข้อ “Change Business to Digital Business” ด้วยหลัก Change to Win
  • Change : ลงงบการ Digital Marketing ให้มากขึ้น
  • To : ปรับการสื่อสารให้เป็นแบบเฉพาะเจาะจง / ส่วนตัวกับผู้บริโภคมากขึ้น
  • Win : ชนะด้วยเสียงของผู้บริโภคบนโลกโซเชียลมีเดีย
tdet-marketing-thai-trend-2015-b
อีกหัวข้อคือเรื่อง “สร้างแบรนด์อย่างไรให้ประสบความสำเร็จบนโลกออนไลน์” โดย คุณขวัญเนตร  รัตนพฤกษ์  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ  บมจ.ธนาคารกสิกรไทย  คุณณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง จาก dtac  คุณวุฒิศักดิ์   ศักดิ์ศรีบำรุง  ตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายการตลาดสื่อดิจิตอล จาก LG ประเทศไทย  โดยแต่ละแบรนด์มาร่วมแชร์ประสบการณ์ และ ปัจจัยความสำเร็จในแต่ละวงการธุรกิจ  สำหรับประเด็นสำคัญคือ “สิ่งที่องค์กรจะต้องคิดคือทำไงให้เราอยู่ใน Lifestyle ของผู้บริโภคได้อย่างไร แบบที่ไม่ละเมิดสิทธิ์ และ ผู้บริโภคก็ต้องระวังข้อมูลที่จะเปิดเผยในช่องทาง Digital เช่นกัน และที่สำคัญที่สุด สิ่งที่เราจะสื่อสารกับลูกค้าต้องเข้าถึงไลฟ์สไตล์ของลูกค้าด้วย
tdet-marketing-thai-trend-2015-c
ทางด้าน Baidu (ผู้ให้บริการ Search Engine จากจีน ) ก็ได้นำเสนอในเรื่อง“ไป่ตู้ผู้นำเทคโนโลยีชั้นนำจากจีนที่มีดีมากกว่า Search “ โดย คุณ Yu Yen-Te  “Senior Business Development Manager” บริษัท ไป่ตู้ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยข้อมูลว่า อัตรานักท่องเที่ยวจีนเข้ามาไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคนจีนหาข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย ท่องเที่ยวไทย วีซ่ามาไทย และดิวตี้ฟรี  ในส่วนของจีนเอง ก็มีการพยายามปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมของต่างชาติมากขึ้นเพื่อปรับปรุงและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับนักท่องเที่ยวคนจีน สำหรับการทำการตลาดใน Baidu Search Engine ที่นิยมในจีนเอง ก็มีการทำ web directory เพื่อให้ง่ายในการเสิร์ชข้อมูล
tdet-marketing-thai-trend-2015-d
อีก Session ที่น่าสนใจคือหัวข้อ “Get your Customer Money right now with the right payment” สรุปได้ว่าในโลกออนไลน์ เราจะต้องเปลี่ยนผู้เข้าชม ให้เป็นลูกค้าของคุณ อย่ามองข้ามระบบชำระเงินออนไลน์  ในการเพิ่มอำนาจการจับจ่ายให้กับลูกค้า เช่น ระบบการผ่อนชำระ, การทำโปรโมชั่นอย่างต่อเนื่อง , มีรอบการชำระเงินและนโยบายการคืนเงิน
tdet-marketing-thai-trend-2015-e
ส่วนการเสวนาด้าน e-commerce  หัวข้อ  โกยเงินล้านด้วย e-commerce  โดย คุณสมหวัง เหลืองไพบูลย์ศรี ผู้จัดการทั่วไป PaySbuy  ,คุณทิวา ยอร์ค ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ดีเอฟ มาร์เก็ตเพลส จำกัด ( Kaidee ) , คุณวรรณา สวัสดิกูล  จาก ประธานกรรมการบริหารฝ่ายธุรกิจออนไลน์   TESCO LOTUS  และ คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ผู้ดำเนินรายการ มาแชร์ประสบการณ์ในวงการ e-commerce ที่การแข่งขันกำลังร้อนแรงพร้อมเผยว่า“ในอีก 3 ปีข้างหน้า จะมีการแข่งขันที่สูงมาก เราจะต้องมีการพัฒนาให้แข่งขันกับต่างชาติได้, การใช้โทรศัพท์มือถือก็จะยิ่งมีบทบาทมากยิ่งขึ้น, คนจะหันมาใช้งานออนไลน์เพื่อความสะดวกสบายมากขึ้น”
ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของงาน TDET2015 เท่านั้น ยังมีหลายหัวข้อที่น่าสนใจ ซึ่งท่านสามารถติตดามรายละเอียดเคล็ดลับการตลาดและเทรนด์บนโลกออนไลน์ได้ด้วยตนเองผ่าน Video On Demand ได้ที่www.efrainc.com/tdet2015
ที่มา: http://www.it24hrs.com/

วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2558

ปรับหนักเพย์พาล ยอมให้ศัตรู US ทำธุรกรรมออนไลน์

ปรับหนักเพย์พาล ยอมให้ศัตรู US ทำธุรกรรมออนไลน์
        ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซอย่างเพย์พาล (PayPal) ต้องจ่ายค่าปรับแก่รัฐบาลสหรัฐอเมริกา เป็นเงินถึง 7.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 251 ล้านบาท) โทษฐานยอมให้มีการทำธุรกรรมทางการเงินที่ละเมิดมาตรการลงโทษ 3 ประเทศศัตรูคู่อาฆาตของสหรัฐอเมริกา อย่าง อิหร่าน คิวบา และซูดาน
       
       โดยหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา อย่าง The US Department of Treasury ได้เผยว่า เพย์พาลขาดระบบการตรวจสอบการทำธุรกรรมอย่างพอเพียง จนทำให้ไม่สามารถระงับการทำธุรกรรมที่ไม่เหมาะสมได้ทันท่วงที
       
       สิ่งที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกา เปิดเผยต่อมาก็คือ รายการการทำธุรกรรมมูลค่า 7,000 เหรียญสหรัฐที่กระทำโดยบุคคลซึ่งรัฐบาลสหรัฐอเมริกากำลังจับตามองอย่างเข้มงวด
       
       โดยบุคคลดังกล่าวคาดว่าเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการค้าอาวุธที่มีประสิทธิภาพร้ายแรง
       
       อย่างไรก็ดี การทำธุรกรรมที่นำไปสู่ค่าปรับครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 2009-2013 และทางเพย์พาลได้ออกมาเปิดเผยว่า ทางบริษัทได้ปรับปรุงระบบตรวจสอบการทำธุรกรรมทางเงินเป็นแบบเรียลไทม์แล้ว
       
       ส่วนชื่อของบุคคลต้องสงสัยที่มีการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านเพย์พาลนั้นคือ Kursad Zafer Cire ซึ่งทางการสหรัฐอเมริกา ได้เพิ่มชื่อของเขาลงในรายการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อขบวนการพัฒนาอาวุธทำลายล้างที่มีประสิทธิภาพสูง
       
       ในช่วงเดือนตุลาคม 2009-เดือนเมษายน 2013 นั้น แอ็กเคานต์ที่ลงทะเบียนในชื่อของชายคนดังกล่าวได้มีการทำธุรกรรมผ่านเพย์พาลเป็นจำนวน 136 ครั้ง
       
       ส่วนการทำธุรกรรมอื่นๆ นั้นพบว่า มีการจ่ายเงินชำระค่าสินค้า และบริการจากคิวบา ซูดาน และอิหร่านด้วย
       
       ทำให้ยอดรวมของการทำธุรกรรมผ่านเพย์พาลทั้งหมดอยู่ที่ราว 500 ครั้ง คิดเป็นมูลค่า 44,000 เหรียญสหรัฐ ซึ่งถือว่ากระทบต่อมาตรการคว่ำบาตรที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาสั่งห้ามไม่ให้บริษัทในสหรัฐอเมริกา ทำธุรกิจกับบุคคล หรือองค์กรที่อยู่ในบัญชีดำเหล่านี้แล้วนั่นเอง 

ที่มา: http://manager.co.th/

มาแล้ว “Aquila” โดรนส่งสัญญาณไวไฟ WiFi ที่ปีกยาวเท่าโบอิ้ง 767

มาแล้ว “Aquila” โดรนส่งสัญญาณเน็ตที่ปีกยาวเท่าโบอิ้ง 767
        สร้างกระแสได้เรื่อยๆ สำหรับงาน F8 Conference ของเฟซบุ๊ก โดยในวันที่ 2 ของการจัดกิจกรรมดังกล่าว ยักษ์ใหญ่เครือข่ายสังคมก็ได้ประกาศเปิดตัวฮาร์ดแวร์บินได้ในชื่อโค้ดเนม “Aquila” ที่เฟซบุ๊กตั้งใจว่าจะใช้เป็นเครื่องมือกระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตให้แก่คนกว่าพันล้านคนทั่วโลก
       
       จากการเปิดเผยของ Techcrunch ระบุว่า จุดเด่นของโดรน Aquila ก็คือ ปีกของเครื่องที่มีความยาวเทียบเท่ากับเครื่องบินโบอิ้ง 767 เลยทีเดียว (ปีกของเครื่องบินโบอิ้ง 767 อ้างอิงจากเว็บไซต์ www.boeing.com มีความยาวเท่ากับ 47.6 เมตร) และถึงจะมีปีกที่ยาวขนาดนั้น น้ำหนักของมันกลับเบากว่ารถยนต์หนึ่งคันเสียอีก
       
       เหตุผลที่ Aquila ต้องมีน้ำหนักเบาขนาดนั้น เพราะมันมีภารกิจที่ท้าทายรอให้พิชิตอยู่ นั่นก็คือ การบินอยู่บนอากาศให้ได้นาน 3 เดือน โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งภารกิจนี้เรียกได้ว่าท้าทายเฟซบุ๊กไม่แพ้กัน ไม่เพียงเท่านั้น เฟซบุ๊กยังจะใช้ Aquila ที่บินอยู่ที่ความสูง 60,000-90,000 ฟุตนี้ ในการส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงลงมายังพื้นโลก ซึ่งคาดว่าจะเข้าถึงผู้ใช้งานในพื้นที่ห่างไกลได้นับพันล้านคนเลยทีเดียว
       
       เฟซบุ๊ก ระบุว่า บริษัทจะเริ่มทดสอบประสิทธิภาพการบินของ Aquila ในช่วงซัมเมอร์นี้ แต่การใช้ในเชิงพาณิชย์อย่างแท้จริงนั้นคาดว่าต้องใช้เวลาอีกหลายปี
       
       การเปิดตัวโดรน Aquila อาจไม่น่าแปลกใจนักสำหรับผู้ที่ติดตามข่าวสารของเฟซบุ๊กมาโดยตลอด เพราะในปี ค.ศ.2014 ที่ผ่านมา ก็มีข่าวว่า เฟซบุ๊ก ได้ว่าจ้างทีมงานใหม่ 5 คน จากสตาร์ทอัป Ascenta ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาโดรน และทีมงานเหล่านี้เคยทำงานให้แก่บริษัทอย่างโบอิ้ง, Honeywell และ Harris Corporation มาก่อน แถมเคยมีประสบการณ์ในการพัฒนาโดรนที่บินด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ได้ยาวนานที่สุดมาด้วย ซึ่งอ้างอิงจากรายงานของ Times ระบุว่า สตาร์ทอัปรายนี้มองหาพาร์ตเนอร์ที่จะมาช่วยดันโปรเจกต์ของพวกเขาอยู่พอดี จึงกลายมาเป็นการบินภายใต้ชื่อ Aquila ของเฟซบุ๊กในที่สุด
       
       ขณะที่กูเกิล (Google) ซึ่งมีความพยายามไม่ต่างจากเฟซบุ๊กก็มีโปรเจกต์ “Loon” บอลลูนขนาดยักษ์สำหรับให้บริการสัญญาณไวไฟแก่ชุมชนในพื้นที่ห่างไกลเช่นกัน
       
       ด้านซีอีโออย่างมาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก กล่าวว่า แผนการพัฒนา Aquila นี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Internet.org ที่พยายามเชื่อมต่อโลกเข้าด้วยกัน และเชื่อว่าอากาศยานในลักษณะดังกล่าวนี้จะสามารถให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่ประชากรโลกที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลได้มากถึง 10 เปอร์เซ็นต์ โดยที่ไม่ต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐานใดๆ เพิ่มเติม

ที่มา: http://manager.co.th/

วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2558

UIH เสริมเขี้ยวรุก AEC

UIH เสริมเขี้ยวรุก AEC
พันเอกเรืองทรัพย์ โฆวินทะ กรรมการผู้จัดการ (ซ้าย) และสันติ เมธาวิกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส (ขวา) บริษัท ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ จำกัด หรือ UIH
        UIH หวังการได้มาตรฐานโลก MEF CE 2.0 รายแรกในไทย ช่วยเพิ่มโอกาสขยายฐานลูกค้าเข้าสู่AEC หลังก่อนหน้านี้วางเป้าขยายฐานลูกค้าใน 4 กลยุทธ์หลัก มั่นใจแม้สภาพเศรษฐกิจยังซบเซา แต่ยังมีโอกาสเติบโตตามตลาดราว 10%
       
       พันเอกเรืองทรัพย์ โฆวินทะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ จำกัด หรือ UIH กล่าวว่า ปัจจุบันแม้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะนิ่ง แต่ต้องดูอุตสาหกรรมต่างๆ ที่อาจจะเกิดผลกระทบ เพราะเศรษฐกิจค่อนข้างซบเซา จากที่วางแผนไว้ว่าจะลงทุนเพิ่ม ก็เห็นแววว่าจะลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ลง ทำให้การเติบโตของบริษัทจะใกล้เคียงกับตลาด
       
       'ปีที่ผ่านมารายได้ของ UIH อยู่ที่ราว 3,500 ล้านบาท ขณะที่ในปีนี้ตั้งเป้าเติบโตตามตลาดที่ราว 10% โดยเป็นรายได้จากภาคเอกชนราว 75% อีก 25% เป็นรายได้จากธุรกิจภาครัฐ และคาดว่าฝั่งของเอกชนจะเติบโตมากกว่า เพราะภาครัฐส่วนใหญ่บริการเหล่านี้จะผูกขาดโดยรัฐวิสหกิจอยู่แล้ว'
       
       โดยตอนนี้ UIH ถือว่าเป็นผู้นำในกลุ่มผู้ให้บริการบรอดแบนด์ในกลุ่มลูกค้าเอกชน ที่ไม่รวมคอนซูเมอร์ โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ที่มีสาขาอย่างธนาคาร ไฟแนนซ์ อุตสาหกรรมการผลิตต่างๆเกือบ 3,000 บริษัท
       
       ล่าสุด ทาง UIH ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานจาก MEF ที่ถือเป็นองค์กรที่กำหนดมาตรฐานของผู้ให้บริการ Carrier Ethernet ในระดับสากล เพื่อให้สามารถใช้งานระบบเครือข่ายร่วมกับผู้ให้บริการจากทั่วโลกกว่า 220 ราย ในมาตรฐาน CE 2.0 จากเดิมที่เคยได้มาตรฐาน CE 1.0 ในปี 2011 ที่ผ่านมา
       
       สันติ เมธาวิกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส UIH อธิบายความแตกต่างของมาตรฐาน MEF CE ว่าใน CE 1.0 จะเน้นไปที่การสร้างมาตรฐานให้แก่โอเปอเรเตอร์ ว่ามีบริการแบบมาตรฐาน แต่พอเป็น MEF CE 2.0 ต้องเน้นไปที่ความสามารถในการบริหารจัดการข้อมูลแต่ละประเภทให้ได้ตามมาตรฐานเป็นเครือข่ายที่สามารถควบคุมจัดการได้ตลอดเวลา และมีความพร้อมในการเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการรายอื่น
       
       'ปัจจุบันมีผู้ที่ผ่านมาตรฐาน MEF CE 2.0ทั้งหมด 11 รายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก UIHเป็นรายแรกในประเทศไทย ขณะที่ผู้ให้บริการรายอื่นอย่าง กสท โทรคมนาคม ซิมโฟนี และทรู ยังอยู่ในมาตรฐาน CE 1.0 แต่เชื่อว่าผู้ให้บริการเหล่านี้ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณามาตรฐานดังกล่าว'
       
       โดยทั้ง 11 รายจะมาจากประเทศจีน ฮ่องกง ไทย และเวียดนาม ประเทศละ 1 บริษัท ส่วนอินโดนีเชีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ จะมีบริษัทที่ผ่านการรับรอง 2 บริษัท ที่สำคัญมาตรฐานนี้ถือว่าเป็นการทำให้ UIH อยู่ในกลุ่มนำร่องในการให้บริการ เพราะต่อไปเมื่อมีการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เครือข่ายที่มีมาตรฐานก็สามารถทำการเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศได้ทันที
       
       ทั้งนี้คุณสมบัติหลักขององค์กรที่จะผ่านมาตรฐาน MEF CE 2.0 ต้องมี Multiple-Classes of Service (Multi-COS) เพื่อช่วยให้การให้บริการสามารถรองรับแอปพลิเคชันได้หลากหลาย โดยที่ข้อมูลไม่สูญหาย หรือล่าช้า รวมทั้งมีคุณสมบัติในการจัดการระบบเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง และรองรับการเชื่อมต่อระหว่างผู้ให้บริการเครือข่ายระหว่างประเทศ
       
       ผลของการได้ใบรับรอง MEF CE 2.0 จะทำให้ลูกค้าองค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชน ในทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะลูกค้าองค์กรที่มีสาขาทั้งในและต่างประเทศ ที่เลือกใช้บริการจาก UIH จะสามารถพัฒนาหรือออกแบบเครือข่ายให้รองรับการใช้งานทั้งดาต้า คอมมูนิเคชัน และแอปพลิเคชัน ได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น
       
       'เนื่องจากทาง UIH ไม่ได้เน้นการแข่งขันด้านราคา เพราะมองว่าการให้บริการราคาถูก แต่ไม่มีประสิทธิภาพลูกค้าก็จะเสียหาย ดังนั้นจึงเชื่อว่าการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้ลูกค้ามีความเชื่อมั่นมากขึ้น และยอมที่จะเสียค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นเพื่อแลกกับคุณภาพจากบริการที่ได้รับ'
       
       ปัจจุบัน UIH อยู่ในจุดที่ให้บริการลูกค้าองค์กรที่มีขนาดใหญ่ มีความสำคัญกับธุรกิจของประเทศ เช่น ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจประกัน ธุรกิจค่าปลีก ดังนั้นจึงมองว่าคุณภาพของบริการเป็นสิ่งสำคัญ โดยที่จะทำให้ลูกค้าไม่ติดขัดในการใช้บริการ สามารถส่งต่อข้อมูลได้อย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญคือมีมาตรฐานระดับโลกมารองรับ
       
       ขณะเดียวกัน บุคลากรของ UIH ยังมีผู้ที่ได้รับการประกาศนียบัตรผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Carrier Ethernet Certified Professionals (CECP) ที่มีความรู้ทั้งด้านทฤษฎีด้านการอินทริเกดระบบเครือข่ายคนเดียวในประเทศไทย อีกด้วย
       
       ที่ผ่านมา UIH จะให้ความสำคัญกับบุคลากรเป็นหลัก โดยปัจจุบันในกลุ่ม UIH ที่ให้บริการทางด้านบรอดแบนด์จะมีพนักงานราว 600 คน เป็นวิศวกร และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางราว 350 คน ที่เหลือเป็นฝ่ายการเงิน ฝ่ายขาย และไอทีบางส่วน
       
       'ในมุมของผู้ให้บริการ คือถ้าให้บริการดีคนไม่ชม แต่ถ้าห่วยก็จะโดนด่า ทำให้ต้องมีความอดทนในการรองรับแรงกระแทกแรงๆได้ จึงต้องมีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพราะในการให้บริการที่ดีบุคลากรต้องมีเซอร์วิสมายด์และความรู้คู่กันไป'
       
       ***พร้อมเป็นพันธมิตรเมื่อเปิด 4G
       
       พันเอกเรืองทรัพย์ ให้ข้อมูลต่อว่า UIH ไม่มีความสนใจที่จะเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ 4G แต่ก็พร้อมเข้าร่วมให้บริการ เนื่องจาก UIH มีคอร์เน็ตเวิร์กที่เชื่อมโยงทั่วประเทศกว่า 6 หมื่นกิโลเมตร ครอบคลุม 90% ของประเทศไทยมากกว่า 900 อำเภอ ใน 77 จังหวัดในปี 2558 ทำให้มีโอกาสที่ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือจะเข้ามาใช้งาน
       
       'การที่ UIH เป็นผู้ให้บริการโครงข่ายอินเทอร์เน็ต จึงมีโอเปอเรเตอร์บางรายเข้ามาใช้งานเพื่อให้สามารถเชื่อมต่อไปยังต่างจังหวัดได้ ดังนั้นเมื่อมีการเปิดให้บริการ 4G ก็มีโอกาสที่จะร่วมเป็นพันธมิตรเพื่อให้บริการดังกล่าวก็มีความเป็นไปได้สูง'
       
       นอกจากนี้ ยังมองว่า ด้วยมาตรฐาน MED CE 2.0 ที่ทาง UIH เพิ่งได้มาจะเข้ามาเสริมศักยภาพในการให้บริการเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP/VoLTE) เพราะมีระบบ COS ที่มาช่วยในการจัดลำดับความสำคัญในการให้บริการ เพราะเมื่อมีการใช้งานวอยซ์ผ่านอินเทอร์เน็ต ต้องให้ความสำคัญมากกว่าการเชื่อมต่อดาต้าทั่วไป ด้วยการนำมาตรฐานดังกล่าวมาช่วยจัดลำดับความสำคัญ 
UIH เสริมเขี้ยวรุก AEC
        ***ยังไม่ลุยตลาดคอนซูเมอร์
       
       แม้ปัจจุบันจะมีผู้ให้บริการหลายรายเริ่มหันมาลงทุนให้บริการ FTTx มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการต่อไฟเบอร์ไปยังบ้าน หรือองค์กรธุรกิจขนาดเล็ก แต่ทาง UIH มองว่า การให้โอกาสธุรกิจท้องถิ่นเข้ามาให้บริการน่าจะช่วยเสริมสร้างให้เกิดการกระจายรายได้มากกว่า
       
       'ในเรื่องFTTx นั้น UIH จะเน้นให้บริการทางอ้อม ร่วมกับพาร์ทเนอร์เพื่อนำบริการเข้าไปสู่ผู้บริโภคอีกทีหนึ่ง เพราะต้องการสร้างคนในแต่ละพื้นที่ ด้วยการเชื่อมต่อโครงข่ายไป แล้วให้ทางพาร์ทเนอร์บริหารจัดการในพื้นที่ เพื่อสร้างงานมากกว่า'
       
       โดยเชื่อว่าต่อไปในตลาดนี้จะมีการแข่งขันด้านราคากันค่อนข้างสูง พร้อมๆไปกับการนำคอนเทนต์มาช่วยเพิ่มมูลค่า ดังนั้นจึงยังให้ความสำคัญกับตลาดองค์กรขนาดใหญ่ และกลาง ที่ต้องการประสิทธิภาพของการเชื่อมต่อมากกว่าการเล่นเรื่องราคา
       
       อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน UIH ก็เริ่มมีการเปิดให้บริการ WiFi ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อย่างคอนโดมีเนียมของลุมพีนี โดยเล็งเห็นถึงโอกาสที่จะนำคาปาซิตี้ที่ให้บริการแก่ภาคธุรกิจในช่วงกลางวัน มาให้บริการแก่ลูกค้าอีกกลุ่มหนึ่งในช่วงเวลากลางคืนแทน
       
       ขณะเดียวกัน UIH ก็ได้เป็นพันธมิตรกับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาขน) หรือ ดีแทค ในการเปิดให้บริการ Dtac WiFi เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าอีกช่องทางหนึ่ง ทำให้รวมแล้วถือเป็นการให้บริการตามแนวคิดผู้ให้บริการบรอดแบนด์ด้วยบริการแบบครบวงจร (One Stop Broadband Solution Service) ตามแผนที่วางไว้ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา
       
       โดยเน้นใช้กลยุทธ์ทางการตลาด 4 เรื่อง คือ 1.การเป็นผู้ให้บริการบรอดแบนด์โซลูชันครบวงจร 2. เปิดให้บริการคลาวด์ ในรูปแบบของไฮบริดคลาวด์ ไม่ใช่พับบลิคคลาวด์ที่ต้องไปแข่งขันกับผู้ให้บริการจากต่างประเทศ เพราะเชื่อว่าลูกค้ายังมีความกังวลในส่วนของความปลอดภัยเมื่อใช้งานพับบลิคคลาวด์
       
       3.ขยายตลาดเข้าไปในประเทศ AEC เพราะมีความมั่นใจทั้งลูกค้าที่เป็นองค์กรไทยต้องการเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศ โดยให้ทาง UIH ทำเป็นโซลูชันแบบครบวงจร และลูกค้าจากต่างประเทศที่ต้องการเชื่อมต่อเข้ามาในประเทศไทย 4.ทำการตลาดร่วมกับพันธมิตร อย่างดีแทค ที่นำเสนอบริการไปยังกลุ่มลูกค้าองค์กร

ที่มา: http://manager.co.th/

มังกรเฮ โครงการ “ขายคืนไอโฟน” อาจแจ้งเกิดที่จีนเร็วๆ นี้

มังกรเฮ โครงการ “ขายคืนไอโฟน” อาจแจ้งเกิดที่จีนเร็วๆ นี้
        สื่ออเมริกันระบุ 31 มีนาคมนี้จะเป็นวันที่สาวกแอปเปิลในจีนจะสามารถนำไอโฟน (iPhone) รุ่นเก่ามาขายคืนที่ร้านแอปเปิลเพื่อแลกกับเครดิตคะแนนสำหรับซื้อไอโฟนรุ่นใหม่ คาดเป็นความร่วมมือกับโรงงานอย่างฟ็อกซ์คอนน์ที่จะนำชิ้นส่วนในไอโฟนรุ่นเก่ากลับมารีไซเคิลได้อย่างคุ้มค่า 
       
       สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานความคืบหน้านี้โดยอ้างแหล่งข่าววงใน แม้ทั้งแอปเปิลและฟ็อกซ์คอนน์หรือ Foxconn Technology Group จะยังไม่ออกมาตอบรับหรือปฏิเสธข่าวลือที่เกิดขึ้น แต่นักวิเคราะห์เชื่อว่าการเปิดโครงการขายคืนไอโฟนรุ่นเก่านี้จะช่วยผลักดันให้ลูกค้าแอปเปิลในจีนหันมาอัปเกรดไอโฟนของตัวเองกันมากกว่าเดิม
       
       โครงการขายคืนไอโฟนนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากก่อนหน้านี้ แอปเปิลเปิดโครงการขายคืนไอโฟนที่สหรัฐอเมริกาเมื่อหลายปีที่ผ่านมา ดังนั้นข่าวลือนี้จึงเป็นการสะท้อนว่าแอปเปิลต้องการขยายตลาดที่รองรับโครงการขายคืน ซึ่งเป็นโครงการที่มีเป้าหมายดลใจให้ลูกค้ามีการใช้งานบริการของแอปเปิลเพิ่มขึ้น
       
       เบื้องต้น ข่าวลือระบุว่าชาวจีนอาจไม่เพียงขายคืนไอโฟน แต่สามารถนำสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ (Android) มาแลกกับบัตรของขวัญหรือ gift card สำหรับใช้ในร้านค้าปลีกของแอปเปิลอย่างแอปเปิลสโตร์ (Apple Store) จุดนี้ยังไม่มีการยืนยันข้อเท็จจริงใดๆ
       
       ข่าวลือนี้ถูกวิจารณ์ว่าไม่น่าแปลกใจ เนื่องจากจีนเป็นหนึ่งในตลาดที่แอปเปิลสามารถทำเงินเพิ่มขึ้นได้รวดเร็วที่สุด ที่ผ่านมาแอปเปิลเปิดร้านค้าปลีกแห่งใหม่ในจีนรวดเดียวมากกว่า 5 สาขา จนครบ 20 แห่งในช่วงต้นปี 2015
       
       แหล่งข่าวย้ำว่าโครงการขายคืนไอโฟนนี้จะถูกจำกัดเฉพาะไอโฟนที่วางจำหน่ายในจีนเท่านั้น โดยพันธมิตรอย่าง Foxconn จะเป็นผู้รับซื้อคืนก่อนจะซ่อมและวางจำหน่ายผ่านเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซยอดนิยมในจีนอย่าง eFeihu, FLNet และ Taobao ของ Alibaba
       
       นักวิเคราะห์เชื่อว่าโครงการขายคืนไอโฟนมีความจำเป็นกับแอปเปิล เนื่องจากแม้แอปเปิลจะขยายตัวสุดขีดในจีน แต่การแข่งขันในเวทีโลกกลับติดขัดไม่น้อย โดยสถิติล่าสุดพบว่าบริษัทจีนอย่างเลอโนโว (Lenovo), หัวเว่ย (Huawei) และเสี่ยวหมี่ (Xiaomi) มีส่วนแบ่งตลาดโลกรวมกันไม่น้อยกว่า 40% ในปีที่แล้ว โดยแบรนด์สมาร์ทโฟน 6 ใน 10 แบรนด์ระดับโลกล้วนเป็นสมาร์ทโฟนแบรนด์จีน
       
       อย่างไรก็ตาม แอปเปิลยังคงเป็นเจ้าตลาดสมาร์ทโฟนโลก โดยหากคำนวณรวมสถิติจากซัมซุง (Samsung) สมาร์ทโฟนจากทั้งคู่สามารถทำยอดจำหน่ายได้มากกว่า 518 ล้านเครื่องในปี 2014 ที่ผ่านมา ถือว่าสูงกว่า 453.4 ล้านเครื่องที่เหล่าแบรนด์จีนจำหน่ายได้มากนัก 

ที่มา: http://manager.co.th/

แพลตฟอร์มใหม่ “Messenger” ไฉไลสุดๆ

แพลตฟอร์มใหม่ “Messenger” ไฉไลสุดๆ
        เฟซบุ๊ก (Facebook) เครือข่ายสังคมยักษ์ใหญ่ประกาศให้นักพัฒนาจากภายนอกร่วมเพิ่มฟังก์ชันบนแพลตฟอร์ม “Messenger” ได้ตามใจปรารถนา พร้อมโชว์ตัวเลขผู้ใช้กว่า 600 ล้านคน เป็นสิ่งยั่วใจ
ไม่เท่านั้นยังเผยแผนบริการใหม่ “Businesses on Messenger” ที่เชื่อว่าจะทำให้ธุรกิจกับผู้บริโภค
“ใกล้ชิด” กันมากขึ้น

      
       อาจเป็นจริงตามที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ปีนี้จะเป็นปีทองของแอปกลุ่ม Messenger ที่มีโอกาสเติบโตอย่างก้าวกระโดด เพราะล่าสุด ยักษ์ใหญ่อย่างเฟซบุ๊ก ก็ได้ประกาศเสริมแกร่งบริการ Messenger ของทางค่ายครั้งใหญ่ โดยเปิดโอกาสให้นักพัฒนาจากภายนอกสามารถพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ๆ เพิ่มเติมลงในแอป Messenger ได้ รวมถึงการเผยแผนดัน Messenger เข้าสู่โลกธุรกิจอย่างเต็มตัว หลังจากที่เคยออกมาประกาศว่า สามารถโอนเงินผ่านบริการดังกล่าวได้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
      
       การประกาศครั้งนี้จัดขึ้นภายในงาน F8 Developers Conference ของเฟซบุ๊กที่ซานฟรานซิสโก โดยมาร์ค
ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอเฟซบุ๊กเน้นย้ำถึงความสำคัญของบริการ Messenger ของทางค่ายว่า ปัจจุบันมีผู้คนกว่า 600
ล้านคนใช้งานแอป Messenger บนความถี่เดือนละครั้งเป็นอย่างน้อย 
แพลตฟอร์มใหม่ “Messenger” ไฉไลสุดๆ
        ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นบนแพลตฟอร์ม Messenger คือ การที่ยอมให้ยูสเซอร์สร้างคอนเทนต์
ขึ้นบนแอปอื่นๆ แล้วนำมาแชร์ หรือส่งต่อให้กับเพื่อนๆ ในเฟซบุ๊กได้ พร้อมระบุด้วยว่า คอนเทนต์
ที่สร้างขึ้นนั้น สร้างด้วยแอปอะไร เพื่อให้เพื่อนๆ ที่ได้รับคอนเทนต์นั้นๆ สามารถเข้าไปดาวน์โหลด-
เล่นแอปนั้นได้ด้วยเช่นกัน
 ยกตัวอย่างแอปที่สามารถแชร์คอนเทนต์บนเฟซบุ๊กเช่น FlipLip (สร้างภาพพูดได้),
Bitmoji (สร้าง Emoji ของตนเอง) เป็นต้น
      
       สำหรับผู้ที่สนใจเล่นแอปใหม่ๆ บน Messenger นั้น ทางเฟซบุ๊กได้ประกาศในงาน F8 Conference แล้วว่า
มีแอปกว่า 40 ตัวที่สามารถนำมาใช้งานร่วมกันกับแพลตฟอร์ม Messenger ได้ ได้แก่ ESPN, Bitmoji, JibJab,
Legend, Ultratest, Ditty, Giphy, FlipLip, ClipDis, Memes, PicCollage, Kanvas, JJ Abrams’ studio Bad
Robot’s Action Mobie FX, Boostr, Camoji, Cleo Video Texting, Clips, Dubsmash, Effectify, EmotionAR,
EMU, Fotor, Gif Keyboard, GifJam, Hook’d, Imgur, Imoji, Keek, Magisto, Meme Generator, Noah
Camera, Pic Stitch, PingTank, Score! on Friends, Selfied, Shout, StayFilm, Facebook Stickered,
Strobe, Tackl, Talking Tom, Tempo, The Weather Channel, to.be Camera, และ Wordeo
      
       อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญบางคนให้ความเห็นว่า การทำเช่นนี้อาจสร้างความเสี่ยงให้กับแอป Messenger
ในที่สุด เพราะความสามารถที่เพิ่มขึ้นก็อาจส่งผลให้แอป Messenger กินทรัพยากรของเครื่องมากเกินความจำเป็น
นั่นเอง 
แพลตฟอร์มใหม่ “Messenger” ไฉไลสุดๆ
        มาแล้ว Businesses on Messenger
      
       นอกจากนั้น ซีอีโอเฟซบุ๊กยังเผยด้วยว่า บริษัทมีแผนจะเปิดตัวบริการ Businesses on Messenger ด้วย
ซึ่งทางเฟซบุ๊กเชื่อว่า บริการ Businesses on Messenger นี้จะช่วยให้เจ้าของกิจการต่างๆ มีความใกล้ชิดกับลูกค้า
หรือผู้สนับสนุนได้มากขึ้น
      
       ข้อมูลที่เฟซบุ๊กนำมาอ้างเพื่อสนับสนุนแนวคิดนี้คือ แนวคิดของผู้บริโภคที่ไม่ชอบเสียงของระบบคอลเซนเตอร์
นั่นเอง รวมถึงการส่งอีเมลที่อาจสร้างความรำคาญใจ และมองว่า Businesses on Messenger สามารถเข้ามาแทนที่
ได้อย่างเหมาะสมมากกว่า เช่น บริษัทขนส่งสินค้าอาจใช้ Messenger ในการการแจ้งสถานะการจัดส่งสินค้าแก่ลูกค้า
เป็นต้น โดยพาร์ตเนอร์ของเฟซบุ๊กอย่าง Everlane และ Zulily ได้แสดงตัวอย่างของบริการดังกล่าวเช่น หากลูกค้า
สั่งสินค้าจาก Everlane และต้องการเปลี่ยนของ, คืนของ, หรือติดตามสินค้าที่สั่ง ก็สามารถติดต่อกับ Everlane
ได้เลยผ่าน Messenger ซึ่งทางเฟซบุ๊กมองว่า สะดวกกว่าการส่งอีเมลให้ลูกค้านั่นเอง 
แพลตฟอร์มใหม่ “Messenger” ไฉไลสุดๆ
        นอกจากนั้น ยังอำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจที่ต้องการเปิดบริการ Customer Support แก่ลูกค้าด้วย
เพราะสามารถสนทนาแบบสดๆ ได้บนแพลตฟอร์ม Messenger ของเฟซบุ๊กนั่นเอง
      
       แถมหากเจ้าของธุรกิจรายได้ต้องการแจ้งข้อมูลแก่ลูกค้าเพิ่มก็สามารถส่งได้โดยตรงผ่านทาง Messenger
ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้เจ้าของธุรกิจไม่จำเป็นต้องลงทุนติดตั้งระบบเมล-เว็บไซต์แบบในอดีตนั่นเอง
      
       งานนี้ พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์เตรียมตัวตอบคำถามลูกค้าจนมือไม่ว่างกันได้เลย

ที่มา: http://manager.co.th/

วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

Gmail ไม่ธรรมดาอีกต่อไป!! ไม่ใช่เฉพาะแต่รับส่งเมล์เป็นไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ แต่ในอนาคต Gmail จะสามารถชำระค่าสาธารณูปโภคทุกอย่างในชีวิตประจำวันแบบได้อีกด้วย...

“Pony Express” จ่ายเงินทันใจกับ Gmail...

“Pony Express” จ่ายเงินทันใจกับ Gmail
        กูเกิลเดินแผนเปลี่ยนเมลบ็อกซ์อย่าง “Gmail” ให้กลายเป็นเครื่องมือสารพัดประโยชน์ในชื่อโปรเจกต์ “Pony Express” เลียนแบบชื่อบริการส่งไปรษณีย์ภัณฑ์แบบเร่งด่วนในอดีต 
       
       รูปแบบการพัฒนาของโปรเจกต์ Pony Express ภายใต้ Gmail ที่กูเกิลจะทำ คือการออกแบบให้ผู้ใช้บริการ Gmail สามารถจ่ายบิลต่างๆ ได้ภายใน Gmail เลย จากเดิมที่ผู้ใช้งานบางส่วนต้องไปเข้าเว็บไซต์ของแต่ละบริษัทเพื่อจ่ายค่าสาธารณูปโภคเหล่านี้ ซึ่งเท่ากับช่วยประหยัดเวลาให้กับผู้ใช้ได้นั่นเอง
       
       จากการเปิดเผยของ Re/code ระบุว่า บริการใหม่ดังกล่าวมีแผนจะเปิดใช้งานในไตรมาสที่ 4 นี้ แต่ยังไม่แน่ชัดว่า ชื่อ Pony Express จะเป็นเพียงโค้ดเนม หรือใช้เป็นชื่อผลิตภัณฑ์จริงในวันเปิดตัว
       
       สิ่งหนึ่งที่กูเกิลจะได้รับจากการให้บริการดังกล่าวคือข้อมูลทางการเงินของผู้ใช้บริการจากการชำระบิลค่าใช้จ่ายต่างๆ นั่นเอง ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นจะเป็นประโยชน์มากต่อระบบโฆษณาของกูเกิล-ยูทิวบ์ และเว็บไซต์พาร์ตเนอร์ต่างๆ แถมยังช่วยคัดกรองโฆษณาให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละประเภทได้ง่ายขึ้นด้วย
       
       อย่างไรก็ดี ยังไม่มีการเปิดเผยวิธีสร้างรายได้จากบริการ Pony Express จากกูเกิลแต่อย่างใด 
“Pony Express” จ่ายเงินทันใจกับ Gmail
หน้าจอกรอกรายละเอียด
        
“Pony Express” จ่ายเงินทันใจกับ Gmail
        การทำงานของระบบเริ่มตั้งแต่เมื่อผู้ใช้ลงทะเบียนเข้าใช้งาน และกรอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ ที่อยู่ และ Social Security number เพื่อตรวจสอบตัวตนว่ามีอยู่จริง จากนั้นอาจต้องใส่ข้อมูลบัตรเครดิต หรือหมายเลขโทรศัพท์ เพื่อเริ่มการใช้งาน
       
       จากเอกสารดังกล่าวยังพบว่า กูเกิลได้เป็นพาร์ตเนอร์กับผู้ให้บริการพิมพ์และจัดส่งบิลในกลุ่มของธุรกิจประกันภัยและโทรคมนาคม แต่ไม่ชัดเจนว่า เป็นการร่วมมือโดยตรงกับบรรดาผู้ให้บริการเหล่านั้นเลยหรือไม่
       
       เมื่อชื่อของผู้ใช้ได้รับการยืนยันแล้ว ก็จะสามารถรับใบแจ้งหนี้สินค้าได้ผ่าน Gmail หรือแอปอีเมลตัวใหม่ของกูเกิลอย่าง Inbox ได้ ซึ่งการใช้ใบแจ้งหนี้อิเล็กทรอนิกส์เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคในทุกวันนี้ล้วนคุ้นเคยกันดี แต่สิ่งที่พิเศษมากไปกว่านั้นก็คือ หน้าจอต่อมาที่แสดงให้เห็นว่า มีโฟลเดอร์พิเศษชื่อ Pony Express Folder ที่ยูสเซอร์สามารถจ่ายบิลได้จากโฟลเดอร์นั้นๆ โดยตรง 
“Pony Express” จ่ายเงินทันใจกับ Gmail
จะพบโฟลเดอร์ Pony Express
        
“Pony Express” จ่ายเงินทันใจกับ Gmail
เลือกได้เลยว่าจะชำระเงินในแอปหรือไม่
        จากภาพที่ปรากฏจะพบว่า บริการนี้เปิดให้ผู้ใช้ตัดสินใจว่าจะชำระค่าใช้จ่ายนั้นๆ ในระบบของ Pony Express เลยหรือไม่ นอกจากนั้นยังยอมให้ยูสเซอร์แชร์บิลดังกล่าวไปยังผู้ใช้งาน Gmail รายอื่นๆ ด้วย ซึ่งเหมาะสำหรับคนที่แชร์ห้องพักกับรูมเมต เพื่อที่จะได้แยกกันจ่ายค่าสาธารณูปโภคกันตามส่วน
       
       อย่างไรก็ดี กูเกิลอาจไม่ใช่เจ้าแรกที่พัฒนาบริการดังกล่าว เพราะก่อนหน้านี้เคยมีบริการลักษณะเดียวกันในแอปชื่อ Manilla เปิดให้ใช้งาน แต่บริการ Manilla ก็ได้ปิดตัวลงไปเมื่อปีที่ผ่านมา หรือแอป Check ที่ให้ยูสเซอร์จ่ายบิลบนแอปก็เคยมีเช่นกัน แต่ Check ถูก Intuit ซื้อไปเมื่อปีที่ผ่านมา ด้วยเม็ดเงิน 360 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้น ความพยายามของกูเกิลในครั้งนี้ ผลลัพธ์ที่ได้อาจยังไม่สวยงามนักก็เป็นได้

ที่มา: http://manager.co.th/

ไทยพร้อมที่จะก้าว สู่ระบบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือยัง!!

ETDA ฝันไกลมีอีเพย์เมนต์รูปแบบใหม่ในปี 60
        ETDA เผยมาตรฐานกลางข้อความการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เวอร์ชั่น 2 หลังเปิดตัวเวอร์ชันแรกไปเมื่อปี 2555 หวังให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ISO 20022 และแนวทางการใช้งานของ Common Global Implementation (CGI) เพื่อยกระดับและพัฒนาการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ ฝันไกลปี 2560 จะเห็นระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ไร้กระดาษและรวดเร็วบนมาตรฐานเดียวทั้งระบบโครงสร้างทางการเงินของประเทศไทย
       
       อุรัชฎา เกตุพรหม ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA เปิดเผยภายในงานสัมมนา Financial Message Standard Seminar เพื่อระดมความเห็นเรื่องการเชื่อมโยงข้อมูลการค้าและข้อมูลด้านการเงินเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจดิจิตอลว่า เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ขึ้นในประเทศไทยอย่างสมบูรณ์ การขจัดอุปสรรคทั้งด้านความปลอดภัยของการใช้งานและมาตรฐานข้อมูลในการเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งาน ธุรกิจ และธนาคาร เป็นเรื่องที่ต้องตระหนัก ครั้งนี้จึงมีการกำหนดมาตรฐานใหม่เพื่อให้เกิดมาตรฐานกลางในส่งข้อความตามมาตรฐาน ISO 20022 และแนวทางการใช้งานของ Common Global Implementation (CGI) เพื่อยกระดับและพัฒนาการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ
       
       มาตรฐานกลางข้อความการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (NATIONAL PAYMENT MESSAGE STANDARD: NPMS) มธอ. 0001-2558 ถูกประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 มีนาคมที่ผ่านมา ด้วยการลงนามของนายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ในฐานะประธานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยครั้งนี้นับเป็นการปรับปรุงเนื้อหามาตรฐานการรับส่งข้อความการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างธนาคารและผู้ประกอบการ ซึ่งอ้างอิงตามแนวทางของ Common Global Implementation (CGI) ที่กำหนดแนวทางการใช้งานเพิ่มเติมจากมาตรฐานขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน ISO 20022 เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ มีการใช้งานที่สอดคล้องกับบริบทการใช้งาน ความต้องการทางธุรกิจ และคุณลักษณะของระบบการชำระเงินในประเทศไทย จึงได้แก้ไขปรับปรุงโดยยกเลิกมาตรฐานเดิมและกำหนดมาตรฐานนี้ขึ้นใหม่ 
ETDA ฝันไกลมีอีเพย์เมนต์รูปแบบใหม่ในปี 60
อุรัชฎา เกตุพรหม ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA
        ประกอบด้วยข้อความการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 8 ข้อความจากมาตรฐานเดิมที่มีเพียง 4 ข้อความ โดยแบ่งมาตรฐานออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นข้อความการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 6 ข้อความ ซึ่งอ้างอิงข้อความตามมาตรฐาน ISO 20022 Universal financial industry message scheme และกำหนดแนวทางการใช้งานเพิ่มเติมจากมาตรฐาน ISO 20022 ให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานระดับสากลผ่าน CGI Forum ที่เกิดจากการรวมตัวของผู้ประกอบการและสถาบันการเงินรายใหญ่ระดับโลก และส่วนที่ 2 เป็นข้อความการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 2 ข้อความ ซึ่งอ้างอิงข้อความตามมาตรฐาน ISO 20022 เท่านั้น
       
       โดยมีรายละเอียดของข้อความดังนี้ 1.ข้อความโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ 2.ข้อความหักบัญชีเงินฝากอัตโนมัติ 3.ข้อความรายงานสถานะคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการชำระเงิน 4.ข้อความรายงานรายการโอนเงินหรือหักเงินในบัญชีเงินฝาก 5.ข้อความแจ้งยอดคงเหลือในบัญชีเงินฝาก 6.ข้อความแจ้งรายการโอนเงินหรือหักเงิน 7.ข้อความโอนคืนเงินที่ได้หักบัญชีไปแล้ว 8. ข้อความขอยกเลิกคำสั่งโอนเงินหรือหักบัญชี
       
       ทั้งนี้ ETDA พยายามที่จะลดต้นทุนที่เกิดขึ้นในเชิงพาณิชย์ให้ได้มากที่สุด เช่นเรื่องการลดใช้กระดาษใบเสร็จในร้านค้าสะดวกซื้อ เนื่องจากผู้บริโภคต้องการเก็บกระดาษนี้เพียงแค่ใช้สิทธิ์ส่วนลดหรือแลกซื้อเท่านั้น ถ้าสามารถนำสิทธิ์เหล่านั้นเข้าเป็นข้อความบนสมาร์ทโฟน และไม่ต้องใช้กระดาษเพื่อเก็บข้อมูลด้านภาษีให้สรรพากรตรวจสอบ ก็จะทำให้ร้านค้าสามารถลดต้นทุนลงได้อีกมาก โดยเบื้องต้นได้มีการเข้าไปคุยกับสรรพากร เพื่อหาช่องทางการรายงานซื้อขายของร้านค้าให้กับสรรพากรในรูปแบบอื่นๆ แทนกระดาษ
       
       “ในปี 2560 เราฝันไปไกลถึงรูปแบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความรวดเร็วและไร้ข้อจำกัด เพื่อส่งเสริมให้เกิดการค้าอิเล็กทรอนิกส์ภายในประเทศไทยอย่างยั่งยืนต่อไป โดยหากสามารถทำได้ ไทยจะเป็นประเทศลำดับที่ 3 ในกลุ่มประเทศอาเซียน โดย 2 ประเทศแรกได้แก่บรูไนที่ลงทุนด้านระบบอีเพย์เมนต์ทั้งระบบเนื่องจากเป็นประเทศที่ร่ำรวย ขณะที่อีกประเทศคือประเทศสิงคโปร์ที่ลงทุนระบบ Fast Payment ในบริการใหม่ๆ โดยปัจจุบันสามารถโอนเงินต่างธนาคารได้ในทันที ไม่ต้องเหมือนประเทศไทยที่จะต้องรอระบบ Clearing จากต่างธนาคารก่อน ซึ่งทำให้ไม่สามารถโอนเงินระหว่างธนาคารได้ในทันที” อุรัชฎา กล่าวอย่างมีความหวัง

ข้อมูล : http://manager.co.th

วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

LINE Webtoon เปิดแข่งนักวาดหวังสร้างการ์ตูนไทยออนไลน์เพิ่ม

LINE Webtoon เปิดแข่งนักวาดหวังสร้างการ์ตูนไทยออนไลน์เพิ่ม
        แอปอ่านการ์ตูน LINE Webtoon เปิดแพลตฟอร์มใหม่ Challenge League รับผลงานนักวาดการ์ตูนคนไทยหวังสร้างโอกาสและการ์ตูนไทยออนไลน์ให้เพิ่มขึ้น พร้อมจัดการแข่งขันชิงเงินรางวัลรวมกว่า 1 ล้านบาท เผยไทยเป็น 1 ใน 3 ประเทศที่ Never เกาหลีเลือกที่จะเข้าไปทำตลาด เพราะเห็นฝีมือการวาดไม่แพ้ใครในโลก แต่ยังขาดการกระตุ้นต่อยอดที่ดี มั่นใจหากได้รับความนิยมเตรียมส่งไปสู่โมเดลธุรกิจอื่นๆ เพื่อสร้างรายได้ร่วมกัน
       
       นายคิม จุน กู ผู้บริหาร LINE Webtoon จาก Never ประเทศเกาหลี กล่าวว่า LINE Webtoon แอปพลิเคชันอ่านการ์ตูนภาษาไทยออนไลน์เปิดตัว ชาลเลนจ์ลีก (Challenge League) แพลตฟอร์มสำหรับเปิดรับผลงานการ์ตูนเพื่อสร้างโอกาสให้เป็นนักวาดมืออาชีพ และจะได้รับการเผยแพร่ในแอปอ่านการ์ตูนออนไลน์ ซึ่งจะมีการแข่งขันเพื่อชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 1 ล้านบาท โดยการเปิดตัวครั้งนี้ยังถือเป็นการสร้างโอกาสให้นักวาดการ์ตูนได้ทดลองทำในสิ่งที่ตนเองรักและชื่นชอบ และถือเป็นหนึ่งในการสร้างคอนเทนต์ที่หลากหลายให้กับ LINE Webtoon
       
       ไทยถือเป็นหนึ่งใน 3 ประเทศนอกเกาหลีที่ไลน์ได้เข้าไปทำตลาด ต่อจากสหรัฐอเมริกาและไต้หวันปัจจุบัน LINE Webtoon มีผู้อ่านกว่า 17 ล้านคนต่อเดือน และ 6.2 ล้านคนต่อวัน มีการ์ตูนให้อ่านประมาณ 800 เรื่อง ในจำนวนนี้มีในประเทศเกาหลี 200 เรื่อง จากนักวาดการ์ตูนมืออาชีพทั้งหมด 200 คน นอกจากนี้ยังมีนักวาดสมัครเล่นอีกกว่า 140,000 คน
       
       'ในจำนวนการ์ตูนของเกาหลีมี 40 เรื่องที่ถูกนำไปทำเป็นภาพยนตร์และละครในประเทศเกาหลี นอกจากนี้ยังมีการต่อยอดผลงานเนื้อหาไปสู่สื่ออื่นๆ และสามารถสร้างรายได้ร่วมกันระหว่างนักวาดการ์ตูนและ LINE Webtoon ซึ่งการเปิดชาลเลนจ์ลีกในไทยครั้งนี้จะเป็นการเฟ้นหานักวาดที่มีความสามารถ และเสริมให้คอนเทนต์การ์ตูนของไทยมีเพิ่มมากขึ้น โดยในอนาคตหากได้รับความนิยมก็มีโอกาสที่จะต่อยอดไปสู่โมเดลทางธุรกิจอื่นๆ เช่นเดียวกับเกาหลีเช่นกัน'
       
       นายคิม กล่าวว่า การเลือกเมืองไทยเป็น 1 ใน 3 ประเทศนั้นเนื่องจากมองว่าการ์ตูนในไทยกำลังเติบโตและพัฒนาไปได้ด้วยดี แต่ยังไม่มีการ์ตูนในแบบไทยๆ มากเท่าใดนัก ซึ่งที่มีอยู่ใน LINE Webtoon นั้นมีประมาณ 7 เรื่อง ในขณะที่นักวาดฝีมือคนไทยก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าใครเลย จึงต้องการที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้เติบโตมากขึ้น ทั้งนี้สำหรับเรื่องที่ได้รับความนิยมใน LINE Webtoon นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องตลก แต่สำหรับรสนิยมของไทยจะเน้นในแนวน่ารักๆ และโรแมนติก ซึ่งถือว่าแตกต่างจากประเทศอื่นๆ
       
       LINE Webtoon เปิดรับผลงานตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม- 24 พฤษภาคม 2558 โดยมีเงินรางวัลรวมกว่า 1 ล้านบาท และสำหรับผู้อ่านสามารถสะสมแต้มด้วยการกดไลค์ กดแชร์ และมียอดสะสมสูงที่สุดก็จะมีสิทธิเป็นผู้โชคดีรับของรางวัลเช่นกัน ติดตามได้ที่ www.webtoon.com/th/contest

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://manager.co.th/